วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รองหอฯแนะรัฐฯเร่งสร้างความชัดเจนปฏิรูปการเมือง อย่างสร้างเงือนไขผูกพัน หวั่นนักลงทุนถอย


หลังก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดยให้เหตุผลหลักอันเนื่องมาจาก การทุจริตคอรัปชั่น และความเคลือบสงสัยในตัวผู้นำ รวมไปการคลอบงำองค์กรอิสระ และความแตกแยกในชาติออกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายอย่างชัดเจน
ก่อเกิดรัฐบาลชุดปฏิรูปการเมือง นำโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งถูกมองว่าเป็นม่านนอกของ รัฐบาล คมช.ที่มีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. สงผลให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยตามมาอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลให้เกิดการชุมนุมเคลื่อนไหวคัดค้านการปกครองของรัฐบาลในชุดปัจจุบัน
จากกรณีนี้นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี รองประธานหอการค้าจ.ภุเก็ต กล่าวถึงกรณีนี้ว่า การที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศชาติ ณ เวลานี้ ต้องแยกออกเป็นกรณีๆไป กล่าวคือ การได้มาซึ่งอำนาจจากการก่อรัฐประหารหรือยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งถูกมองว่าเป็นการทำลายระบอบการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะตั้งคำถามว่า มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดในการทำรัฐประหาร ที่ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย จากตรงนี้รัฐบาลชุดนี้ได้ให้เหตุผลในการทำรัฐประหารไว้ 4 ข้อหลัก ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอรัปชั่น ความเคลือบแคลงสงสัยในตัวผู้นำ และความแตกแยกของคนในชาติ รวมทั้งการเข้าไปรุกล่ำองค์กรอิสระ และคลอบงำสื่อ จากหลายสาเหตุที่ภาคประชาชนและสภาฯ ไร้อำนาจการถ่วงดุลและตรวจสอบ และรัฐบาลชุดนี้ได้ให้สัญญากับประชาชนทั้งประเทศในการเข้ามาปฏิรูปการเมืองครั้งสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ ตามระบอบประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้ ในเวลา 1 ปี มองว่าในระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลชุดนี้ยังไม่สามารถที่จะทำให้เหตุผลทั้ง 4 ข้อที่ก่อการรัฐประหารขึ้นมานั้นชัดเจน จากเหตุผลตรงนี้เอง นำมาซึ่งการตอบโต้ที่รุนแรงเช่นเดียวกันเกิดขึ้นในฝั่งของประชาชนที่อยากเห็นการการกลับคืนอำนาจประชาธิปไตยโดยเร็วลุกขึ้นขึ้นมากดดันรัฐบาลและ คมช.ที่กำลังควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นั้นคือการเคลื่อนไหวขององค์กรต่างๆรวมถึงภาคประชาชน ที่อาจจะได้รับแรงผลักดันจากกลุ่มผู้ขาดผลประโยชน์ และคลื่นใต้น้ำจากรัฐบาลชุดก่อนหรือเกิดจากภาคประชาชนเห็นความไม่ชัดเจนต่อการเข้ามายึดอำนาจของรัฐบาลชุด คมช.และไม่มีความไว้วางในในการปฏิรูปทางการเมืองของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะนำไปสู่วิกฤติทางการเมืองขึ้นได้ในอนาคต ทางออกในการแก้วิกฤติการเมืองครั้งนี้จึงไม่เพียงจะแก้ไขบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญในฉบับหนึ่งฉบับใดเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไขในแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และต้องมีบทสรุปที่ชัดเจนและคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ รวมทั้ง 4 เหตุผลหลักในการทำรัฐประหารจะต้องมีความชัดเจน และประชาชนในชาติต่างให้การยอมรับ ทั้งนี้มองว่าการทำงานของรัฐบาลยังมีข้อแม้และมีเงือนไขรวมถึงระยะเวลาที่จำกัดในการทำการปฏิรูปการเมือง จึงอยากให้รัฐบาลเร่งหาบทสรุป และสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ปัญหาทุกอย่างปานปลาย เร่งปลดประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ทางออกที่สำคัญคือการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ภาคประชาชนมีส่วนสำคัญในการยกร่าง และมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ไม่อยากเห็นการผูกขาดอำนาจเหมือนอดีตผ่านมา และมีการสืบทอดอำนาจต่อหลังรัฐบาลชุดปัจจุบันหมดพันธสัญญากับประชาชน ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต่างชาติและนานาประเทศกำลังจับตามองประเทศไทยว่าการเมืองจะมีความมั่นคงเพียงไรและจะดำเนินต่อไปอย่างไรในอนาคต ซึ่งจะมีผลต่อการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุน รวมถึงการนำเข้าส่งออกที่นักลงทุนกำลังติดตามสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งหากการเมืองไทยในวันนี้ยังไม่มีเสถียรภาพที่ดี นักลงทุนต่างก็จะขาดความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในประเทศ และจะส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนในทันที ทั้งนี้หากนักลงทุนปรับฐานการผลิตรวมถึงโยกย้ายเงินลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากกว่า ก็ยิ่งจะไม่ส่งผลดีกับสภาวะเศรษฐกิจของไทย เพราะจะเห็นได้ว่าประเทศเพื่อนบ้านของเราในเวลานี้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว และมีการขยายตัวของ GDP ในอัตราที่ก้าวกระโดด จึงอยากเห็นความชัดเจนในการปฏิรูปการเมืองโดยเร็วและการเมืองในอนาคตจะต้องเป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีความมั่นคง มากกว่าที่ผ่านมา
ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าการก่อรัฐประหารเป็นการทำลายประชาธิปไตย แต่สิ่งที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือการกอบกู้ประชาธิปไตย และรักษาความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับสังคมการเมืองในประเทศของเรา พัฒนาเมล็ดพันธ์ทางการเมืองที่มีคุณภาพ เข้ามาสานต่อประชาธิปไตยไปสู่วันข้างหน้าที่ดีกว่า และเหนือสิ่งอื่นใด ประชาชนคือแกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประชาธิปไตย เพื่อประเทศชาติที่นานาประเทศให้การยอม และเชื่อมั่นในเสถียรภาพทุกด้าน ทั้งนี้หากการเมืองอ่อนแอ ประเทศชาติจะอ่อนแอตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบกับทุกด้านการพัฒนาก็จะชะลอตัว อีกทั้งในประเทศเพื่อนบ้านคู่แข่งที่สำคัญกำลังพัฒนาและยกระดับความน่าเชื่อถือและเป็นประเทศที่การเมืองมีเสถียรภาพมากว่า ตรงนี้จะทำให้ประเทศเราเสียเปรียบ หากการเมืองในปัจจุบันยังย่ำอยู่กับที่และไม่มีความมั่นคงเพียงพอ อยากเห็นการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยที่ภาคประชาชนเป็นผู้ขับเคลื่อน มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรมตามระบอบ และการได้มาซึ่งตัวผู้นำที่ทุกภาคส่วนให้การยอมรับและเป็นนายกในระบบการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ที่อำนาจสูงสุดอยู่ในมือของประชาชน นายชวนะกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น