วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นศ.ป.โท ธรรมศาสตร์ แนะสสร.ทำความเข้าใจกติกาประชาธิปไตย ลั่น สว.สรรหาวิกฤติหนัก แนะคืนอำนาจสู่ประชาชน


หลังจากคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จในร่างแรกผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนที่ให้ 13 องค์กรรวมกันพิจารณาก่อนนำกลับเข้าสู่ขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์และทบทวนแก้ไขในช่วงต้นเดือนกันยายนที่จะถึง
ทางด้าน นายชวนะ เกียรติชวนะเสวี นักศึกษาป.โทธรรมศาสตร์ออกโรง พูดถึงในหลายประเด็นโดยเฉพาะเรื่องของการสรรหา สว. และการลดเก้าอี้ สส.เหลือเพียง 320 ที่นั่งและให้มี สส.สัดส่วนอีก 80 โดยนายชวนะกล่าวว่า ได้เฝ้าติดตามการทำงานของคณะกรรมการ ยกร่างรัฐธรรมนูญมาโดยตลอดและพอจะทราบถึงเหตุผลที่ คณะกรรมการเห็นว่า สว.ควรมาจากการสรรหา เพราะจากที่ผ่านมา มีการแทรกแซงการทำหน้าที่ ของสมาชิกวุฒิสภา และความไม่เป็นกลางทางการเมือง รวมถึงผลประโยชน์แอบแฝงจนทำให้เกิดวิกฤติทางการเมืองมาถึงปัจจุบัน โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าการตีโจทย์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 50 กำลังผิดทาง เพราะวิกฤติการเมืองเกิดขึ้นจากตัวบุคคลไม่ใช้รัฐธรรมนูญ และเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมและสมบูรณ์แบบมากที่สุด ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย มาตั้งแต่ปี 2475 ซึ่งได้จัดการเลือกตั้งที่ได้ตัวแทนมาจากภาคประชาชน ประชาชนคือผู้ตัดสินใจเลือกทิศทางการทำงานของคณะผู้บริหารประเทศ เพราะฉะนั้นนั้นคือจุดเริ่มต้น เราผ่านการเกิดวิกฤติบ้านเมืองมาหลายยุคหลายสมัย เปลี่ยนรัฐบาลมาหลายครั้งหลายครา แต่ทุกครั้งประชาชนจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ จะเป็นผู้เลือกตัวแทนที่จะเข้ามาบริหารบ้านเมือง เพราะฉะนั้นประเด็นหลักสำคัญของประชาธิปไตยต้องอยู่ที่ประชาชนเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้จึงมีความเห็นว่าการให้อำนาจกับกลุ่มบุคคลไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดหรือหน่วยงานใด เลือกสรรตัวบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งในภาคส่วนของการเมืองที่เกี่ยวข้องและมีผลกับประเทศ จึงไม่ใช้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และประเทศที่พัฒนาแล้วเลือกใช่ ซึ่งหาก สสร.มีมติให้ สว.มาจากการสรรหาเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่เป็นที่ยอมรับของภาคประชาชน และอาจเกิดวิกฤติทางการเมืองและความรุนแรงเกิดขึ้น จึงอยากให้มีการทบทวนแก้ไขในส่วนนี้ และให้ สสร.เข้าใจกติกาของรัฐธรรมนูญ เข้าใจถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่กฎหมาย จึงควรคืนอำนาจการตัดสินให้กับประชาชน
ซึ่งการที่ประชาชนคือผู้ตัดสินใจเลือกตัวแทนเข้าไปทำงานการเมืองนั้น ไม่ว่าผู้นั้นจะทำงานได้ดีหรือไม่ ไม่ใช้ปัจจัยสำคัญเพราะนั้นคือวิวัฒนาการทางการเมือง ซึ่งหากพี่น้องประชาชนเห็นว่าผู้ที่เข้าไปทำงานและเลือกตั้งเข้าไป ไม่สามารถทำงานให้สอดคล้องกับภาคส่วนและพี่น้องประชาชนได้ ประชาชนอีกนั้นแหละคือผู้ตัดสินใจ และนั้นคือประชาธิปไตยซึ่งเป็นไปตามระบอบ ผมจึงเห็นว่าการสรรหา สว.ไม่เหมาะสม และสว.ควรมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ สว.หาเสียงได้ การแนะนำตัวไม่มีเหตุผลและปัจจัยเพียงพอที่ประชาชนจะทำความกับใจกับผู้สมัครได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ในส่วนของ การลดจำนวน สส.นั้นมองว่าประเด็นนี้ไม่ควรเป็นปัจจัยสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และสส.สัดส่วนมองว่ายังไม่สามารถอธิบายถึงบทบาทหน้าที่ได้และความจำเป็นที่จะมีหรือไม่มีได้ จึงมองว่าไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น